วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รถอีแต๋นพลังงานชีวมวล!!!!

เมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม 2552 เวลา 10.00 – 12.00 น. สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 (ส่วนกลาง) จากกรุงเทพฯ วันที่ 26 สิงหาคม 2552 เวลา 13.00 น. สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และช่องทีวีไทย และวันที่ 27 สิงหาคม 2552 เวลา 9.30 น. ช่อง NBT เข้าถ่ายทำสารคดีเกษตรเกี่ยวกับนวัตกรรม “รถอีแต๋นพลังงานชีวมวล” เพื่อนำไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนที่สนใจ และเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและผลงานวิจัย โดย ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพลังงาน ให้สัมภาษณ์ว่า รถอีแต๋น เป็นรถอีกประเภทหนึ่งที่มีการใช้งานกันมากในกลุ่มเกษตรกรชาวนาและชาวไร่ เป็นรถที่คนไทยได้ดัดแปลงนำเอาชิ้นส่วนจากรถยนต์ 4 ล้อ ขนาดเล็กมาประกอบร่วมกับเครื่องยนต์การเกษตรโดยมีสายพานเป็นอุปกรณ์ส่งถ่าย กำลัง เครื่องยนต์รถอีแต๋นส่วนใหญ่ใช้น้ำมันดีเซล จากการประเมินทั้งประเทศ พบว่า มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงถึง 1,200 ล้านลิตร/ปี ซึ่งรถอีแต๋นก็เป็นส่วนหนึ่งการใช้เชื้อเพลิง ดังนั้นถ้ามีเทคโนโลยีที่ลดการใช้น้ำมันดีเซลในรถอีแต๋นลงได้ ก็จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายการซื้อน้ำมันดีเซลของเกษตรกร การนำน้ำมันดีเซลมาใช้ร่วมกับโปรดิวเซอร์แก๊สเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะลดการ ใช้น้ำมันดีเซลลง โดยโปรดิวเซอร์แก๊ส คือ แก๊สชีวมวลที่เกิดจากการนำเอาเศษไม้ ถ่าน หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร มาเผาแปรสภาพให้เป็นแก๊สต่อการใช้งานร่วมกับเครื่องยนต์ โดยเทคโนโลยีโปรดิวเซอร์แก๊สที่ติดตั้งกับอีแต๋นมีส่วนประกอบหลัก 4 ส่วน คือ เครื่องผลิตโปรดิวเซอร์แก๊สชุดระบายความร้อนและกรองทำความสะอาด ชุดปรับส่วนผสมอากาศ และเครื่องยนต์ดีเซล เมื่อประเมินอัตราความสิ้นเปลื้องน้ำมันดีเซลเปรียบเทียบดีเซล คิดเป็นผลการประหยัดน้ำมันดีเซลเฉลี่ยได้ 40% และต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถอีแต๋นจะขึ้นอยู่กับราคาของน้ำมันดีเซล และถ่านไม้เป็นหลัก ซึ่งถ้าเกษตรกรหรือหน่วยงานใดที่ต้องการนำเอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้งาน ควรที่จะสามารถผลิตถ่านไม้ได้เองในราคาต้นทุนที่ต่ำและใช้ควบคู่กับน้ำมันไบ โอดีเซล
ที่มา:ศูนย์วิจัยพลังงานม. แม่โจ้้

การผลิต และ การจัดเก็บไฮโดรเจน!!!!

ปัจจุบันก๊าซไฮโดรเจนสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบสองแหล่งหลัก คือ เชื้อเพลิงฟอสซิล ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหิน, น้ำมัน และ เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุน เวียน เช่น ชีวมวล และ น้ำ เทคโนโลยีในการผลิตก๊าซไฮโดรเจนแบ่งได้เป็น 3 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่ Thermal Processes, Electrolytic Processes และ Photolytic Processes ดังนี้

Thermal Process เป็นการใช้ความร้อนกับแหล่งพลังงาน เช่น ก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหิน, ชีวมวล, เชื้อเพลิงเหลว เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ไฮโดรเจน เช่น Reforming Gasification Partial Oxidation High-temperature Water Splitting

Electrolytic Process เป็นการใช้ไฟฟ้าเพื่อแยกน้ำเป็น ก๊าซไฮโดรเจน และ ก๊าซออกซิเจน โดย ก๊าซไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นจะไม่ ก่อให้เกิดมลพิษทาง อากาศแต่ ขึ้นกับแหล่งในการผลิตกระแสไฟฟ้าตัวอย่างของแหล่งในการผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แก่ พลังงานทดแทน หรือ พลังงานหมุนเวียน (Renewable sources) และ นิวเคลียร์

Photolytic Process หรือ Biophotolysis เป็นการใช้พลังงานแสงเพื่อแยกน้ำเป็น ก๊าซไฮโดรเจน และ ก๊าซออกซิเจน เช่น Photobiological Water Splitting Photoelectrochemical Water Splitting ปัจจุบันการผลิตกก๊าซไฮโดรเจนในเชิงพาณิชย์จะผลิตจากกก๊าซธรรมชาติโดยวิธี Strean Reforming เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ถูกที่สุด

การจัดเก็บก๊าซไฮโดรเจน ไฮโดรเจนจะถูกกักเก็บได้ในถังในรูปแบบของ ของเหลว ก๊าซ หรือ ของแข็งในรูป สารประกอบเคมีการเก็บในรูปแบบก๊าซ ถัง เก็บจะมีปริมาตรใหญ่ เนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนมีน้ำหนัดเบา และ มีความหนาแน่นน้อยที่ความดัน บรรยากาศ เพื่อให้สามารถเก็บมวลไฮโดรเจนได้มากจึง ต้องอัดให้มีความดันสูงเพื่อลดปริมาตรของถังบรรจุ ตัวอย่างเช่น ถั งมีปริมาตร 50 ลิตร มวล 65 กิโลกรัม ความดัน 200 บาร์ สามารถบรรจุไฮโดรเจน ได้ปริมาตร 8.9 ลูกบาศ์กเมตร คิดเป็นมวล 795 กรัม ความหนาแน่น 16 กรัม ต่อ ลิตร หรือ 16 กิโลกรัมต่อลูกบาศกเมตร หรือ อัตราส่วนเชิงมวล 1.22 เปอร์เซนต์โดยน้าหนักถัง จึงยังไม่เหมาะสมในการนํามาใช้กับรถยนต์ แต่ถ้าพัฒนาถัง ให้เก็บที่ความดัน 700 บาร์ จะสามารถนำมาใช้กับรถยนต์ได้ การเก็บในรูปของเหลว จะต้องเก็บในถังความดันที่มีอุณหภูมิต่ำมากถึง -273 องศาเซล เซียส และ มีปัญหาในปล่อยกก๊าซทิ้งเพื่อควบคุมความดันในถังเก็บ อีกทั้งต้องเสียค่าพลังงานไฟฟ้ามากในการทําให้อุณหภูมิต่ำซึ่งสูงถึงหนึ่งในสามของพลังงานไฮโดรเจน

การเก็บไว้ในท่อถ่านนาโน (Carbon nano tube) โดยใช้ คุณสมบัติการดูดซับทางกายภาพของถ่าน ซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และ ความดันที่อุณหภูมิต่ำ 70 เคลวิน ความดัน 40 บาร์ จะเก็บไฮโดรเจนได้ประมาณ 5 % โดยน้ำหนัก อยู่ในระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยี่เพื่อให้เก็บไฮโดรเจนได้มากขึ้น และ นํามา ใช้งานต่อไป

การเก็บในรูปสารประกอบเคมี โดยใช้โลหะไฮดรายด์ ต้องคํานึงถึงน้ำหนักถัง และ อุณหภูมิที่เหมาะสม โลหะไฮดรายด์ สามารถเก็บไฮโดรเจนได้ประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ ของ น้ำหนักถัง จึงเป็นปัญหาในเรื่องน้ำหนักถังเก็บ การบรรจุไฮโดรเจนเข่าถังเก็บต้องมีการระบายความร้อนออกจากถังเก็บ และ ในการจ่ายไฮโดรเจนออกจากถังเก็บ ก็ต้องให้ความร้อนกับโลหะไฮดรายด์ ถึงจะได้ก๊าซไฮโดรเจนออกมา ที่แต่ละสภาวะของอุณหภูมิ และ ความดัน การเก็บ ในรูปสารประกอบไฮดรายด์ จําพวก โซเดียม, โพแทสเซียม หรือ ลิเทียม โซเดียมไฮดรายด์ (NaH) สามารถคายก๊าซไฮโดรเจนด้วยการทําปฏิกิริยา กับน้ำได้ สารประกอบโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และ ก๊าซไฮโดรเจน และ ในทางกลับกันเมื่อนําโซเดียมไฮดรอกไซด์มาให้ความร้อนก็จะได้โซเดียม ไฮดรายด์ กับ ก๊าซอ็อกซิเจนกลับมาใหม่ ดังนั้นโซเดียมไฮดรายด์ จึงเป็นพาหะพลังงาน ซึ่งสามารถอัดเม็ด และ เคลือบผิวกันน้ำเพื่อสะดวกในการขนส่ง โซเดียมไฮดรายด์ สามารถเก็บไฮโดรเจนได้ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก

ที่มา:http://www.hhoproduct.com

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รถพลังงานลม ทำจากตัวต่อเลโก้ 5000 รอบ/นาที !!!!

รถพลังงานลม ทำจากตัวต่อเลโก้!!!!

หลักการทำงานง่ายๆ จากพลังงานลม!!!

รถพลังงานอัด พลังงานทดแทนและทางเลือก!!!!

รถพลังงานลม จากไทย!!!!

Electric Car รถไฟฟ้า!!!!

รถพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Cell car อีกทางเลือก!!!

เทคโนโลยี่พลังน้ำ ซึ่งใช้ไฟฟ้าแยกน้ำเอาส่วนประกอบไฮโดเจและออกซิเจนจากน้ำ!!!

รถใช้ไฮโดเจนโดยการใช้ไฟฟ้าแยกน้ำ ให้ได้ส่วนประกอบน้ำ นั้นคือ H2O!!!

การทบทวนเรื่องพลังงาน เราควรจะเดินไปทางใด!!!!



หลังจากท่านดูแล้ว ท่านคิอย่างไรกับพลังงานทางเลือก